พิมพ์
เขียนโดย Sasara Sasara
หมวด: Sasara Blog Sasara Blog
เผยแพร่เมื่อ: 31 สิงหาคม 2548 31 สิงหาคม 2548
ฮิต: 23522 23522
         Kissนักวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยชิคาโก ศาสตราจารย์ Eve Van Cauter ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยใน วารสารทางกายแพทย์ "Annals of Internal Medicine" เมื่อ 7 ธ.ค. 2547 ว่า การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ มีผลต่อฮอร์โมนในร่างกายที่ควบคุมความอยากอาหารของร่างกาย


       Smileนักวิจัยพบว่า การนอนหลับเพียง 4 ชั่วโมงต่อคืน เป็นเวลา 2 คืนติดต่อกัน จะทำให้ ฮอร์โมน leptin ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้ไม่อยากอาหาร ลดลงถึง 18% และฮอร์โมนGhrelin ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นให้เกิดความหิวนั้น เพิ่มขึ้นถึง 28%

อาสาสมัครรายงานว่า ความรู้สึกหิวของตนเองเพิ่มขึ้นถึง 24 % และนอกจากนั้นลักษณะอาหารที่ตนเองต้องการก็เปลี่ยนไปด้วย โดยมีความอยากอาหารหวาน ๆ เช่น ลูกกวาด คุ้กกี้ อาหารเค็ม ๆ เช่น มันฝรั่งทอดกรอบ ถั่วอบ และอาหารประเภทแป้ง เช่น ขนมปังและ พาสต้า มากขึ้น ในขณะที่ความอยากอาหารในการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผัก ผลไม้ กลับลดน้อยลง

ศาสตราจารย์ Eve Van Cauter กล่าวว่า "เนื่องจากการที่สมองเป็นอวัยวะที่ใช้ Glucose เป็นพลังงาน จึงเป็นเหตุให้ อาสาสมัครเหล่านั้น เลือกรับประทานอาหารกลุ่มที่เป็น คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว (เช่น แป้งขัดขาว น้ำตาลทรายขาว) เพื่อชดเชยการนอนไม่พอ

"การวิจัยในครั้งแรกนี้แสดงให้เห็นว่าการนอนหลับเป็นปัจจัยหลักในการควบคุมฮอร์โมนความหิว 2 ตัวนี้ ซึ่งทำให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับความอยากอาหารและรวมไปถึงการเลือกชนิดของอาหารในการรับประทานด้วย

"การค้นพบนี้ทำให้พบเหตุเชื่อมโยงระหว่างปัญหาการนอนไม่หลับเรื้อรังกับโรคอ้วน โรคไขมันในเลือดสูง Metabolic syndrome รวมไปถึงโรคเบาหวานด้วย"

สรุปว่า ถ้าไม่อยากอ้วนและได้ผลพวงของโรคจากความอ้วนเป็นของแถม นอกจากการควบคุมอาหาร ออกกำลังกายแล้ว ก็ควรเข้านอนแต่หัวค่ำ และควรจะนอนให้ได้อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อวัน จะดีต่อสุขภาพที่สุด รับรอง

ข้อมูลจาก www.balavi.com โดย นพ.คณิน ไตรพิพิธสิริวัฒน์